วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ตะเพียนขาว



ตะเพียนขาว 

BY we.wp 


 ชื่อสามัญ    Java barb, Silver barb
ชื่อวิทยาศาสตร์  Barbonymus gonionotus
ชื่อไทย ตะเพียนขาว , ตะเพียน
ชื่อท้องถิ่น ภาคอีสาน:ปลาปาก / ภาคเหนือ:ปลาโมกค่า / ภาคใต้:ปลาตะเพียนทอง



    ลักษณะ
ครีบหลัง(Dorsal fin) เเบบตอนเดียวสั้น มีก้านครีบแข็ง 3 ก้านเเละก้านครีบอ่อน 8 ก้าน ก้านครีบเเข็งอันสุดท้ายของครีบหลังเป็นกระดูกเเข็ง เเละหยักทางด้านหลัง  
ครีบก้น(Anal fin) มีมีก้านครีบแข็ง 3 ก้านและครีบอ่อน 6 ก้าน ก้านครีบแข็งอันสุดท้ายของครีบก้นอ่อน จับงอโค้งได้ปานกลาง
ครีบหาง เเบบเว้าลึก(Forked) สีเทาปนเหลือง 
ครีบท้อง อยู่ตำเเหน่ง Sub-abdominal position สีเหลืองปนส้ม 
เส้นข้างลำตัว(Leteral line) มีเกล็ดตามเส้นข้างลำตัว 26-28 เกล็ด เกล็ดทางด้านเฉียง 5.5/1/3.5-4 โดยนับเฉี่ยงไปทางฐานครีบอก(Pectoral fin) และ 5.5/1/5.5 โดยนับเฉีบงไปจนถึงเสีนกึ่งกลางของสันท้อง 
ส่วนหลังโค้งยกตัวสูงขึ้นความลึกของลำตัวเป็น 2.2-2.6 เท่าของความยาวมาตรฐาน 
ส่วนหัว ความยาวหัว 3.9-4.2 เท่าของความยาวมาตรฐาน  
จงอยปาก กลม เล็ก อยู่ปลายสุด
หนวด มี 2 คู่ ความยาวของหนวด  Rostral barbels เป็น 1/3-1/2 ของความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางตา เเละหนวด Maxillary barbels เป็น 2/3-1/2 ของความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางตา
เกล็ด เกล็ดใหญ่ แบบCycloid
รูปทรง เเบบแบนข้าง (Compressiform) สีเงินคล้ำเล็กน้อย 


สัดส่วนของปลาตะเพียนขาว


อวัยวะภายในของปลาตะเพียน
    เพศเมีย
    เพศผู้


กล้ามเนื้อของปลาตะเพียนขาว



 อ้างอิง  หนังสือ "ปลาตะเพียนขาว" โดยกองประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
เรียบเรียงใหม่เพื่อทำรายงานวิชามีนวิทยาของนิสิตคณะประมง ของ น.ส.จุฑาทิพย์ หวิงปัด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น